ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันนี้ และจะมีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตในวันศุกร์ เพื่อประเมินว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย.หรือไม่
นอกเหนือจากข้อมูลเงินเฟ้อแล้ว นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนส.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า ทะลุ 35 บาท/ดอลลาร์อีกครั้ง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,997 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยสุทธิ 2,805 ล้านบาท
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยงและผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 35.30 บาท/ดอลลาร์
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดร่วง 100 บาท จากค่าเงินบาทแข็งหลุด 35
ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนทะลุ 35 บาท/ดอลลาร์ จากการเมืองไทยยังวุ่น
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง (แกว่งตัวในช่วง 34.90-35.12 บาทต่อดอลลาร์) โดยในฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัว sideway ใกล้ระดับ 4.00% (กรอบ 3.98%-4.04%)
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหว sideway โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ในช่วงที่ตลาดการเงินผันหวน ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันนี้ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) แกว่งตัวใกล้ระดับ 102.5 จุด
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ (ตลาดจะรับรู้ในช่วง 19.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย) โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI จะอยู่ที่ระดับ 3.3% (คิดเป็นการเพิ่มขึ้น +0.2%m/m) ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามแรงหนุนของราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นคำพูดจาก สล็อต888
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังคงประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI มีแนวโน้มชะลอลงและอาจทรงตัวใกล้ระดับ 3.0%-3.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ก็อาจทรงตัวที่ระดับ 4.8% และมีแนวโน้มชะลอลง ตามภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
หากอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกมาตามคาด ผู้เล่นในตลาดอาจยังคงมองว่า เฟดจะยังไม่สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมเดือนกันยายน (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดยังให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ ราว 30%)
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อได้บ้าง โดยการอ่อนค่าของเงินบาทอาจมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากผู้เล่นในตลาด อาทิ ผู้ส่งออก ต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ หลังเงินบาทอ่อนค่าทะลุระดับ 35.00 บาทต่อดอลลาร์